กว่าจะเป็นฉันในวันนี้
“เธอพูดอะไรของเธอ ทำไมไม่มีใครเข้าใจเธอเลย”
ชีวิตของดิฉันในวัยเด็ก เติบโตพร้อมความคาดหวังของครอบครัวและตัวของดิฉันเอง ที่คาดหวังมาโดยตลอดว่าสักวันดิฉันจะประสบความสำเร็จในด้านการเรียน เพราะฉะนั้น ตัวของดิฉันเองจึงให้ความสำคัญกับการเรียนเป็นอย่างมากถึงขั้น คิดเสมอว่าการพูดคุย สนทนากับเพื่อนที่ไร้สาระนั้น เป็นการกระทำที่ไร้สาระเป็นอย่างมาก จนตัวของดิฉันเองจึงไม่ชอบการเข้ากลุ่มแก็งค์กับใคร และนั้นคือที่มาของโรคร้ายแรงที่ดิฉันต้องพบเจอ เมื่อเข้าสู่ชีวิตช่วงมัธยมปลาย ดิฉันได้มีโอกาสนำเสนอหน้าชั้น ซึ่งเดิมทุกครั้งที่มีงานกลุ่มดิฉัน จะปฏิเสธการนำเสนอทุกครั้งยอมทำงานหนักกว่าเพื่อน เพื่อที่ตัวเองไม่ต้องนำเสนอและการนำเสนอครั้งนั้นเป็นการนำเสนอที่ทำให้ดิฉันรู้สึกล้มเหลวเป็นอย่างมากเมื่อดิฉันนำเสนอเพื่อนๆร่วมห้องไม่มีใครเข้าใจเลยแม้แต่คนเดียวรวมถึงครูผู้สอน และนั้นเป็นเหตุผลที่ดิฉันต้องการจะพัฒนาทักษะการเข้าสังคม การสื่อสารโดยการเริ่มทำกิจกรรมจิตอาสา พบปะผู้คนมากหมายและเข้าชมรมของโรงเรียนและทำกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
โอกาสเปลี่ยนชีวิต
โดยอีกกิจกรรมที่ดิฉันได้สมัครในช่วงปิดเทอมเพื่อเปิดสังคมให้ดิฉันได้รู้จักสังคมภายนอกมากขึ้นคือค่าย Move World Together นวัตกรรมเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.),การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์และกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ซึ่งค่ายดังกล่าวเป็นการเพิ่มทักษะหลายอย่างให้กับดิฉันมาก รู้จักการเข้าสังคมมากยิ่งขึ้น มีทักษะการสื่อสารมากยิ่งขึ้นและรวมถึงการได้เรียนรู้กระบวนการคิดนวัตกรรมอีกด้วย ซึ่งค่ายดังกล่าวเป็นการอบรมเยาวชนเพื่อสามารถคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาท้องถิ่นได้ ซึ่งรูปแบบโครงสร้างของค่ายดังกล่าวพอสังเขปคือ เป็นค่ายที่มีทั้งหมด 3 ระดับดังนี้ ค่าย1 คือการอบรมเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานเรื่องปัญหาต่างๆที่พบเจอในสังคมและฝึกการคิดการแก้ปัญหาที่อยู่รอบตัว โดยค่าย1 รับโรงเรียนละ1กลุ่มและจะจัดค่ายเป็นแต่ละภาค, ค่าย2 คือ ค่ายที่เข้าเนื้อหาการคิดนวัตกรรมลึกยิ่งขึ้น เรียนรู้การทำงานกลุ่ม และเป็นการคัดเลือกจากค่าย1 ซึ่งเป็นการรวมตัวแต่ละภาคโดยที่ผู้ที่ผ่านจะเป็นในนามตัวแทนของแต่ละภาค และค่าย3 คือ ค่ายรอบสุดท้ายที่แต่ละทีมต้องมีนวัตกรรมที่เป็นPrototypeได้ และต้องมีนวัตกรรมที่น่าสนใจซึ่งทีมของดิฉันได้ผ่านทั้งสามค่ายและได้มีโอกาสแข่งขันในงานวันนักประดิษฐ์ ณ ที่ไบเทคบางนา จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นการแข่งขันครั้งแรกของทีมดิฉัน ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวทำให้ทีมดิฉันกังวล และตื่นเต้นกับการแข่งขันดังกล่าวเป็นอย่างมาก ทีมของดิฉันได้รับเหรียญเงินในการแข่งขัน ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นที่น่าภาคภูมิใจและเกินคาดสำหรับทีมดิฉันเป็นอย่างมากและเป็นรางวัลที่เป็นการตอบแทนโครงการและโรงเรียนที่คอยสนับสนุนต่างๆอีกด้วย ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นความสำเร็จจากความพยายามตลอดระะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ความฝันที่ไม่ถึงฝั่ง
เมื่อดิฉันจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา สิ่งที่ดิฉันคาดหวังและฝันมาโดยตลอดคือการได้ทุนต่อเรียนระดับอุดมศึกษาแต่ความฝันดังกล่าวเป็นเพียงความฝันที่ดิฉันไม่สามารถประสบความสำเร็จได้(ความใฝ่ฝันของดิฉัน คือศึกษาต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดิฉันไม่สามารถเรียนต่อได้หากดิฉันไม่ได้รับทุนการศึกษา ซึ่งดิฉันตัดสินใจ Gap Year 1 ปี เพื่อที่หางานทำ โดยมีวัตถุประสงค์เดียวคือ เพื่อหาเงินทุนมาจ่ายค่าเทอมของตัวเอง ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสทำงานเป็นพนักงาน part time แฟมีลี่มาร์ท ที่ภูเก็ต (เดิมดิฉันต้องการสมัครเป็นพนักงานประจำ แต่เนื่องด้วยอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ จึงต้องเป็นพนักงาน part time) ซึ่งการทำงานดังกล่าวเป็นการทำงานที่ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้มากมาย ในชีวิตวัยทำงาน และรวมถึงการฝึกภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติอีกด้วย เนื่องจากลูกค้าที่มาซื้อสินค้าที่ร้าน 60% เป็นชาวต่างชาติที่มาทำงานอยู่ที่ภูเก็ตและร่วมไปถึงนักท่องเที่ยว เป็นการทำงานที่มีความสุขเป็นอย่างมาก เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ผู้จัดการใจดี
โอกาสที่ดีที่สุดในชีวิต
เมื่อดิฉันทำงานหย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 โอกาสที่ล้ำค่าที่สุดก็ได้มาเยือนแด่ดิฉัน โอกาสดังกล่าวคือ ทีมดิฉันได้รับคัดเลือกแข่งขันนวัตกรรมระดับนานาชาติ โดยทีมเราแข่งขันที่เกาหลีใต้ ซึ่งโอกาสดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทีมหนูไม่คาดดิดว่าทีมเราสามารถไปไกล้ถึงขนาดนี้ โดยก่อนแข่งขันจริง ทีมเราได้มีการอบรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอ การจัดโต๊ะโชว์ผลิตภัณฑ์ การตอบคำถามกับกรรมการต่างๆมากมาย หนึ่งเดือนเต็ม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวเป็นการแข่งขันที่สูงมากสำหรับทีมดิฉัน ทำให้ทีมดิฉันมีความกดดัน เครียด ตื่นเต้น ในทุกๆวันที่แข่งขัน ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวทีมดิฉันได้รับรางวัลเหรียญทองจากงานและยังได้รับรางวัล special awards จากประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย ซึ่งเป็นความประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิตของดิฉันเลย ทีมดิฉันไม่เคยคาดคิดว่า ทีมดิฉันในฐานะนักเรียนเรียนศาสนาควบคู่สามัญ เด็กสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถมายื่นถึงจุดๆนี้

โอกาศมาพร้อมเวลาที่เหมาะสม
จากการแข่งขันเวที่ระดับนานาชาติทำให้ดิฉันมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นที่จะยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัยรอบ 1 portfolio ซึ่งผลออกมาคือ ดิฉันไม่ติด ดิฉันได้ลงรอบ1 ไปแค่1มหวิทยาลัยเท่านั้นคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทำให้ย้อนกลับมาดูตัวเองและคิดมาโดยตลอดว่า โอกาสจะมาพร้อมเวลาที่เหมาะสม ดิฉันก็ไม่ล้มเลิกที่จะยื่นคะแนนเพื่อเข้าสอบมหาวิทยาลัยในรอบที่3 ซึ่งผลที่ออกมา คือ ดิฉันไม่ติด ซึ่งสาขาวิชาที่ดิฉันสนใจนั้นเปิดถึงแค่รอบ 3 เท่านั้น ทำให้ดิฉันมืดแปดด้านมาก รู้สึกกังวลเป็นอย่างมากแต่เมื่อเวลาผ่านประมาณหนึ่งสัปดาห์ ดิฉันได้รับข้อความจากมหาวิทยาลัยว่า ทางสาขาเกิดการผิดพลาดเรื่องการคัดเลือกนักศึกษา ซึ่งทางสาขาให้ดิฉันส่งคะแนนไปอีกที่ และผลออกมาคือ ดิฉันติด ดิฉันดีใจเป็นอยางมากและทำให้มีดิฉันในวันนี้ ดิฉันนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คณะวิทยาลัยสหวิทยาการ สาขานวัตกรรมข้อมูล นางสาวนูไรดา แมเราะ(นูไร)
โอกาสที่ล้ำค่า กองทุนทำบุญวันเกิดกับธรรมศาสตร์
ความใฝ่ฝันของดิฉันคือ Data Science หรือการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งดิฉันได้เรียนสาขาที่ตามความใฝ่ฝันของดิฉันแต่สาขาที่ดิฉันศึกษาอยู่นั้น เป็นภาคพิเศษค่าเทอมต่อปีการศึกษาประมาณหนึ่งแสนบาท ซึ่งนั้นเกินความสามารถของครอบครัวของดิฉันที่จะสามารถจ่ายได้ ดิฉันก็ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนทำบุญวันเกิดกับธรรมศาสตร์ กองทุนทำให้ดิฉันสามารถเรียนต่อได้
ครอบครัวกองทุนทำบุญวันเกิดกับธรรมศาสตร์
กองทุนที่ไม่เพียงให้ความหมายกับดิฉันแค่กองทุนสนับสนุนการศึกษาเท่านั้น แต่กองทุนทำบุญวันเกิด ให้กับดิฉันมากกว่านั้น ที่เรียกว่าครอบครัว และกองทุนทำให้ดิฉันยังได้รู้จักการบันทึกรายรับ รายจ่าย บริหารการเงิน สอนความเป็นธรรมศาสตร์ให้แก่ดิฉัน เป็นที่ปรึกษาในหลายๆอย่าง และทำให้ดิฉันรักธรรมศาสตร์
